คุณภาพผลผลิตทางการเกษตร

พัฒนาคุณภาพผลผลิตทางการเกษตร ด้วย “พันธุ์พืชพันธุ์ดี”

0 Comments

ผลผลิตสินค้าเกษตรในปัจจุบัน มีความแตกต่างจากสมัยก่อนเป็นอย่างมาก เพราะด้วยปัจจัยต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยีการผลิต สิ่งแวดล้อม จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ทิศทางการตลาด และความต้องการของผู้บริโภค ส่งผลให้จำเป็นต้องเปลี่ยนวิถีในการทำเกษตร เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่หันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น จึงเป็นผลที่ต้องทำการกำหนดคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าเกษตร อาทิ สินค้าเกษตรอินทรีย์ สินค้าเกษตรปลอดภัย ตามไปด้วย

ขยาย “พันธุ์อ้อย” อย่างถูกต้องและเหมาะสม

หากคุณเกษตรกรที่ต้องการขยายพันธุ์อ้อย ควรเลือกพันธุ์ที่มีความทนทานทั้งต่อโรคและแมลง เหมาะกับพื้นที่และชนิดของดินที่ปลูก รวมถึงเลือกพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง มีความหวานเฉลี่ยอยู่ที่ 12 ซี.ซี.เอส โดยมีวิธีการขยายพันธุ์ดังต่อไปนี้

  • เตรียมต้นกล้าเพื่อนำต้นอ่อนมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ด้วยการเลือกตัดอ้อยจากแปลงที่ปลอดโรค มีลำต้นสมบูรณ์ มีอายุประมาณ 8-10 เดือน และทำการตัดเป็นท่อน ท่อนละ 1 ตา พร้อมกับใส่รหัสประจำลำและข้อตา เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการสุ่มตรวจโรค จากนั้นให้นำข้อตาอ้อยมาแช่น้ำอุณหภูมิ 52 องศาเซลเซียส 30 นาที ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง และแช่น้ำร้อน 50 องศาเซลเซียส นาน 2 ชั่วโมง หลังจากนั้นนำมาเพาะในกระบะทราย ด้วยการใช้ทรายที่ผ่านการอบฆ่าเชื้อที่ 150 องศาเซลเซียส นาน 3 ชั่วโมง ประกอบกับหมั่นตรวจสอบความชื้นให้คงที่ และต่อจากนี้ประมาณ 3-4 สัปดาห์ก็จะได้ต้นกล้าสำหรับเพาะเลี้ยง
  • นำต้นอ้อยที่ได้มาทำความสะอาด ด้วยการตัดยอดอ่อนให้ชิดท่อนพันธุ์ พร้อมแต่งหน่อและตัดใบทิ้ง ฟอกเชื้อในสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรท์ ความเข้มข้น 20% นาน 20 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำกลั่นที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อแล้ว 3 ครั้ง ครั้งละ 3 นาที จากนั้นนำเข้าตัดเนื้อเยื่อในตู้ปลอดเชื้อ ให้ได้ส่วนของเนื้อเยื่อเจริญปลายยอด
  • นำหน่ออ้อยที่ได้มาเลี้ยงต่อในอาหารเหลวในขวด จนได้ต้นกล้าที่แข็งแรง หลังจากนั้นนำต้นกล้าออกจากขวด ล้างด้วยน้ำ แยกขนาดของต้นกล้าและแช่รากในน้ำเปล่า 
  • นำต้นอ้อยที่ได้ไปลงปลูกต่อในถาดที่มีวัสดุเพาะอย่างพีทมอสและทราย ในอัตราส่วน 2:1 รดน้ำให้ชุ่ม ควบคุมความชื้น และนำไปอนุบาลในโรงเรือน 45-60 วัน
  • เมื่อได้ต้นกล้าที่สมบูรณ์ ให้นำลงแปลงผัก พร้อมกับสำรวจโรคและแมลงในแปลงปลูก รวมถึงสุ่มตัวอย่างต้นอ้อนไปตรวจเชื้อสาเหตุด้วยวิธีทางชีวโมเลกุล

สำหรับขั้นตอนการขยายพันธุ์อ้อย พืชทางการเกษตรพันธุ์ดี ที่เรานำมาบอกต่อคุณเมื่อข้างต้น ถือเป็นการสร้างผลผลิตในสัดส่วนที่เหมาะสม ปลอดภัย และประหยัดงบประมาณแบบสุด ๆ หากคุณเป็นเกษตรกรที่กำลังมองหาลู่ทางใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคแล้วล่ะก็ การทำตามขั้นตอนเมื่อข้างต้น ก็ถือว่าสามารถตอบโจทย์ได้ไม่น้อยเลยล่ะ

Related Posts

เกษตรอินทรีย์

ไขข้อสงสัย เกษตรอินทรีย์มีข้อดีอย่างไร ทำไมถึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

การทำเกษตรในปัจจุบันได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น และยิ่งเป็นการทำเกษตรอินทรีย์ด้วยแล้ว ได้กลายมาเป็นอีกหนึ่งกระแสของคนรุ่นใหม่เลยก็ว่าได้ เพราะคนรุ่นใหม่เริ่มหันมาให้ความสนใจกับเกษตรอินทรีย์กันมากกว่าเดิม ทั้งที่รุ่นพ่อรุ่นแม่ของเรายังทำการเกษตรเชิงเดี่ยวขายให้พ่อค้าคนกลางแบบเหมากันมาเป็นเวลานาน ซึ่งในส่วนนี้ต้องยอมรับเลยว่า ข้อได้เปรียบของคนรุ่นใหม่ คือ คนรุ่นใหม่รู้จักการผลิต แปรรูป…

วิธีการปลูกกล้วยไข่

เทคนิค “ปลูกกล้วยไข่” มาตรฐานส่งออก คุณภาพดี แต่ต้นทุนต่ำ!

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “กล้วยไข่” นับเป็นกล้วยอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมในการบริโภค โดยเฉพาะกล้วยไข่ที่กำลังสุกงอมได้ที่ เนื่องจากมีรสชาติอร่อย หวานหอม แถมในปัจจุบันในประเทศไทยก็ยังมีการผลิตเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศเยอะมาก สำหรับตลาดที่ให้ความสนใจกล้วยสายพันธุ์นี้ก็คือประเทศจีน และประเทศฮ่องกง สำหรับคนที่สนใจและต้องการปลูก…